หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ


ผู้มีสิทธิ์ได้รับพระราชทานเพลิงศพ และหีบเพลิงต้องมีตำแหน่งชั้นและยศ ดังต่อไปนี้


  • 1. พระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป

  • 2. พระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้น “หม่อมเจ้า” ขึ้นไป

  • 3. ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

  • 4. ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป

  • 5. ข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ ยศชั้นร้อยตรี ขึ้นไป

  • 6. พนักงานเทศบาลตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป

  • 7. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่”เบญจมดิเรกคุณาภรณ์”(บ.ภ.) และ
    “เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย”(บ.ม.) ขึ้นไป

  • 8. ผู้มีเกียรติที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์”จุลจอมเกล้า”(จ.จ.) หรือ
    “ตราสืบตระกูล”(ต.จ.) ขึ้นไป

  • 9. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญ “รัตนาภรณ์” รัชกาลปจจุบัน

  • 10. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ที่ถึงแก่กรรม
    ในขณะดำรงตำแหน่ง

  • 11. รัฐมนตรีที่ถึงแก่อนิจกรรม

  • 12. ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ


การขอพระราชทานเพลิงศพ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ
ผู้สมควรได้รับการพิจารณาในการขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ ควรอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้



1. ผู้ที่อยู่ในราชสกุล ชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง
2. พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูง
3. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญราชรุจิ เหรียญกล้าหาญและเหรียญชัยสมรภูมิ
4. ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติเช่นศิลปินแห่งชาติ นักกีฬาระดับชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อดีตสมาชิกสภาจังหวัดหรืออดีตสมาชิกสภาเทศบาล
5. ผู้ที่ทำประโยชน์ เช่น บริจาคเพื่อการกุศล คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 300,000บาท บริจาคร่างกายหรืออวัยวะ
6. บิดามารดาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับ 6 ขึ้นไป
7. บิดามารดาของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์”ตริตาภรณ์ช้างเผือก”(ต.ช.) ขึ้นไป
8. บิดามารดาของพระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น”พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป
9. บิดามารดาของข้าราชการทหาร ตำรวจตั้งแต่ระดับพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท และพันตำรวจโท ขึ้นไป
หมายเหตุ :
๑. บุคคลผู้ทำลายชีพตนเอง และผู้ต้องอาญาแผ่นดินไม่พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เพลิงศพ ดินฝังศพและ
เครื่องเกียรติยศประกอบศพ
๒. การพระราชทานเพลิงศพนั้น จะต้องไม่ตรงกับ
๒.๑ วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (๒๘ กรกฎาคม)
๒.๒ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี (๓ มิถุนายน)
๒.๓ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (๑๒ สิงหาคม)
๒.๔ วันฉัตรมงคล (๔ พฤษภาคม)
๓. ตามประเพณีนิยม จะไม่พระราชทานเพลิงศพในวันศุกร์


1. การขอพระราชทานเพลิงศพ
: เจ้าภาพหรือทายาท ผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพ จะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงเจ้าสังกัดของ ผู้ถึงแก่กรรม
โดยระบุ
• ชื่อ ตำแหน่ง ชั้น ยศ ของผู้ถึงแก่กรรม
• ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด
• ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อะไรบ้าง
• มีความประสงค์ขอรับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพอย่างใดบ้าง
• ระบุวัน เวลา สถานที่จะฌาปนกิจ
2. การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ
: เจ้าภาพหรือทายาท ผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ ต้องทำหนังสือถึงเลขาธิการพระราชวัง โดยระบุ
• ชื่อ-สกุล และประวัติโดยย่อของผู้ถึงแก่กรรม
• ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด
• ระบุคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ หรือคุณสมบัติ ตามหลักเกณฑ์การพิจารณา
การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ
• ระบุวัน เวลา สถานที่ที่จะฌาปนกิจ
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
: ในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษนั้น จะต้องนำหลักฐานมาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ ดังนี้
o สำเนาใบมรณบัตรของผู้ถึงแก่กรรม
o ทะเบียนบ้านของทายาทของผู้ถึงแก่กรรม
o บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของทายาทของผู้ถึงแก่กรรม
o หนังสือรับรองจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ใบอนุโมทนาบัตร ใบประกาศ เหรียญกล้าหาญ หรือ
เหรียญชัยสมรภูมิ
ทั้งนี้ ต้องนำเอกสารต้นฉบับและสำเนาแนบมาพร้อมกับหนังสือด้วย
3. ติดต่อวัดเพื่อเตรียมการพระราชทานเพลิงศพ
ในการขอพระราชทานเพลิงศพ ทั้งตามเกณฑ์ที่ได้รับพระราชทานและกรณีพิเศษนั้น จะต้องไม่ตรงกับ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวันเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ พระราชพิธีฉัตรมงคล
(และตามประเพณีนิยมมีมีการเผาศพในวันศุกร์)
ขั้นตอนในการขอพระราชทานเพลิงศพ
: เจ้าภาพหรือทายาท จะต้องจัดดอกไม้กระทง 1 กระทง ธูปไม้ระกำ 1 ดอก เทียน 1 เล่ม มีพานรองพร้อมไป
กราบถวายบังคมลา พร้อมด้วยหนังสือกราบบังคมทูลลา โดยติดต่อที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมทั้งนำใบมรณบัตร และหลักฐานที่ได้รับพระราชทานเครื่องราช เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ชั้นสูงสุดที่ได้รับ(พร้อมสำเนา 1 ชุด) ไปแสดงแก่เจ้าหน้าที่กองพระราชพิธี
—————————————————————————————————————————-
1. ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานเพลิง ถ้าจะพระราชทานในต่างจังหวัด(นอกเขตรัศมี 50 ก.ม. จาก
พระบรมมหาราชวัง)ยกเว้นปริมณฑลใกล้กรุงเทพฯ ทางสำนักพระราชวังจะได้จัดหีบเพลิงให้กระทรวงเจ้าสังกัด
รับไปพระราชทานเพลิง หรือให้เจ้าภาพศพไปติดต่อขอรับหีบเพลิงพระราชทานที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
2. กรณีพระราชทานเพลิงศพ ทั้งตามเกณฑ์ที่ได้รับพระราชทานและกรณีพิเศษ ที่ไม่มีเครื่องเกียรติยศ
ประกอบศพในกรุงเทพฯ ทางสำนักพระราชวัง จะได้จัดเจ้าพนักงานเชิญเพลิงหลวง ไปพระราชทานโดยรถยนต์หลวง
ทั้งนี้ เจ้าภาพไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นกรณีปริมณฑลในรัศมี 50 กิโลเมตรจากพระบรมมหาราชวัง
เจ้าภาพจะต้องจัดรถรับ-ส่งให้กับเจ้าหน้าที่เชิญเพลิงด้วย
3. สำหรับเครื่องประกอบเกียรติยศ ได้แก่ หีบ โกศ ฉัตรตั้งนั้น ทางสำนักพระราชวังจะได้เชิญไปประกอบ
และแต่งตั้งไว้ มีกำหนดเพียง 7 วัน เมื่อพ้นไปแล้ว เจ้าภาพหรือทายาทยังไม่กำหนดพระราชทานเพลิง ถ้าทางราชการ
มีความจำเป็น ก็จะถอนส่วนประกอบลองนอกของหีบหรือโกศไปใช้ในราชการต่อไป
4. ในการพระราชทานเพลิงนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่เชิญเพลิงพระราชทานหรือเจ้าภาพเชิญหีบเพลิงไปถึง
มณฑลพิธี ในการนี้ห้ามเปิดหรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เนื่องจากเป็นการไม่เหมาะสม
5. เจ้าภาพงานพระราชทานเพลิงศพ ควรติดต่อกับเจ้าหน้าที่กองพระราชพิธี เพื่อยืนยันก่อนวัน
พระราชทานเพลิง 7 วัน ที่หมายเลข 0222-2735 หรือ 0221-0873(เฉพาะเพลิงที่เชิญโดยเจ้าหน้าที่)
ข้อกําหนดของกองพระราชพิธี
ขั้นตอนในการขอพระราชทานนํ้าหลวงอาบศพ