รูปแบบการสวดพระอภิธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน

รูปแบบการสวดพระอภิธรรมในสังคมไทยปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ:

  1. แบบทั่วไป: หมายถึง แบบที่ใช้สวดในงานบำเพ็ญกุศลศพเพื่ออุทิศให้แก่บุคคลธรรมดา
  2. แบบทำนองหลวง: หมายถึง แบบที่ใช้สวดเฉพาะในงานพระราชพิธี คือ พิธีพระบรมศพ และพิธีศพที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์

พระอภิธรรม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง ธรรมที่อยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรมล้วน ๆ หมายถึงธรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง หรือมีความสำคัญมาก พระอภิธรรมเป็นปรมัตถธรรม คือธรรมขั้นสูง

พระอภิธรรม เรียกให้เต็มว่า พระอภิธรรมปิฎก เป็น 1 ใน 3 แห่งพระไตรปิฎก ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสูตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก

พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น 42,000 พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น 7 คัมภีร์ เรียกว่า พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ที่ใช้สวดในงานศพ ได้แก่

  1. คัมภีร์ธัมมสังคณี: ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มี 4 กัณฑ์ ที่ใช้สวดในงานศพ คือ มาติกา (กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อัพยากตา ธัมมา ฯ)
  2. คัมภีร์วิภังค์: แสดงการจำแนกปรมัตถธรรมออกเป็นข้อ ๆ แบ่งออกเป็น 18 วิภังค์ เช่น จำแนกขันธ์ หมายถึง ขันธ์ 5 อันประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เรียกว่า ขันธวิภังค์
  3. คัมภีร์ธาตุกถา: แสดงการจัดหมวดหมู่ของปรมัตถธรรม โดยสงเคราะห์ด้วย ธาตุ (ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)
  4. คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ: ว่าด้วยบัญญัติ 6 ประการและแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคล
  5. คัมภีร์กถาวัตถุ: ว่าด้วยคำถามคำตอบประมาณ 219 หัวข้อ ที่ถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย
  6. คัมภีร์ยมก: ในคัมภีร์นี้จะยกหัวข้อปรมัตถธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ
  7. คัมภีร์มหาปัฏฐาน: แสดงเหตุปัจจัยและแสดงความสัมพันธ์อันเป็นเหตุ เป็นผลที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวงโดยพิสดาร (เหตุ ปัจจโย ฯ ที่ใช้สวดต่อจาก กุสลา ธัมมา ฯ ในงานศพ)

หากท่านกำลังมองหาบริการรับจัดงานศพ หรือออแกไนซ์รับจัดงานศพ เพื่อช่วยจัดการงานศพให้เป็นไปอย่างราบรื่นและสมเกียรติ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 085-999-2396